ข้อดีของการ จำนำเล่มรถ ไม่โอนเล่มและแบบโอนเล่ม

ปัจจุบันสินเชื่อหรือเงินกู้ที่หลาย ๆ คนนิยมกู้กันก็คือ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ซึ่งจะเป็นลักษณะของการนำรถไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน มีทั้งแบบโอนเล่มและไม่โอนเล่ม

จำนำเล่มรถแบบไม่โอนเล่ม VS แบบโอนเล่ม คืออะไร

พูดถึงสินเชื่อสำหรับคนมีรถ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือการ จำนำเล่มรถ จำนำเล่มทะเบียนรถ เป็นสินเชื่อสำหรับคนมีรถ และมีเล่มทะเบียนที่ผ่อนหมด ปลอดภาระแล้ว สามารถกู้ได้ทั้งรถยนต์ รถกระบะ รถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก โดยผู้กู้จะสามารถนำเล่มทะเบียนรถมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน อนุมัติปุ๊บก็รับเงินเลย มีรูปแบบเป็นสัญญากู้ยืมเงิน

สินเชื่อแบบนี้ผู้ขอสินเชื่อยังใช้รถได้เหมือนเดิม ครอบครองและใช้รถได้ตามปกติ เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เงินด่วน เงินสดแบบฉุกเฉิน เพื่อใช้จ่ายส่วนตัว ใช้จ่ายฉุกเฉิน หรือเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ โดยกำหนดชำระค่างวดเป็นรายเดือน เมื่อผ่อนจนครบสัญญาตามที่กำหนดแล้ว บริษัทก็จะส่งเล่มทะเบียนรถคืนให้ตามปกติ สำหรับการจำนำทะเบียนรถหรือสินเชื่อทะเบียนรถ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
– จํานําทะเบียนรถ ประเภทไม่ต้องโอนเล่ม คือ สินเชื่อทะเบียนรถที่มีขั้นตอนนำเล่มทะเบียนมาฝากไว้กับผู้ให้บริการสินเชื่อไว้ใช้เป็นหลักประกันในการขอกู้สินเชื่อ ชื่อบนสมุดรถก็ยังเป็นชื่อของเราอยู่เหมือนเดิม ไม่มีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รถ เล่มทะเบียน ยังคงเหมือนเดิม จำนำเล่มรถ แบบไม่โอนเล่มเป็นการขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โดยการวางเล่มสมุดทะเบียนรถเอาไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อ โดยไม่ต้องทำการโอนเล่มเปลี่ยนชื่อบนหน้าสมุดทะเบียนรถ ชื่อบนสมุดยังคงเป็นชื่อเจ้าของรถ เพียงแต่ต้องวางเล่มสมุดทะเบียนรถไว้เป็นประกันเท่านั้น ข้อดีของการขอสินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่มคือความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาไปโอนเล่ม เมื่อผ่อนชำระครบแล้วจะได้รับเล่มทะเบียนรถคืนทันที ตอบโจทย์ชีวิตเร่งรีบในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันการจำนำเล่มทะเบียนรถนิยมใช้วิธีจำนำทะเบียนรถแบบไม่โอนเล่มมากกว่าจำนำทะเบียนรถแบบโอนเล่ม เพราะมีความสะดวก รวดเร็วกว่า ลดขั้นตอนของการโอนเล่ม และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเสียค่าธรรมเนียมโอนเล่มอีกด้วย ช่วยให้ได้เงินก้อนจากการจำนำรถรวดเร็วขึ้น
– สินเชื่อทะเบียนรถ ประเภทโอนเล่ม คือ ผู้กู้จะต้องโอนเล่มทะเบียนรถฉบับจริงให้กับผู้บริการสินเชื่อ โดยสมุดรถ จะถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอกู้สินเชื่อ ซึ่ง จะต้องไปดำเนินเรื่องที่ขนส่งทางบก