ขายฝากที่ดิน กลายเป็นสิ่งที่ หลายคนให้ความสนใจในการลงลทุน

ขายฝากที่ดิน เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยเสริมสภาพคล่อง ให้กับผู้ที่มีทรัพย์สินเป็นที่ดินว่างหรือที่ดินที่มีอสังหาริมทรัพย์อยู่ พร้อมเป็นการขายที่ดินที่ไม่ต้องเสียงบประมาณยิบย่อยมากจนเกินไป จึงทำให้ใครหลาย ๆ คนที่ถือครองที่ดินไว้ มีความสนใจต่อการขายฝาก เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนในธุรกิจหรือภายในครอบครัว แต่ในขณะเดียวกันก็มีวิธีการจำนองที่ดินที่ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางทำเงินได้เช่นกัน ดังนั้นลองมาดูว่าการขายฝากและการจำนองแตกต่างกันอย่างไร

รู้จักการ ขายฝากที่ดิน ให้มากขึ้น
การ ขายฝากที่ดิน เป็นหนึ่งในรูปแบบการซื้อขายทางนิติกรรมประเภทหนึ่ง ที่จะต้องไปทำการจดทะเบียนเพื่อขายฝากกันที่สำนักงานที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินที่ทำการขายฝากจะสามารถไถ่ถอนได้ตามระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ส่วนผู้รับซื้อจะได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยที่สูงสุดไม่เกินปีละ 15% เมื่อเจ้าของที่ดินมีการมาไถ่ถอน ตัวผู้รับซื้อก็จะได้รับเงินต้นคืนทันที สำหรับผู้ที่เป็นผู้รับซื้อไว้มักจะมีการให้ประโยชน์ต่อผู้ฝากขายหลายรูปแบบ เช่น การให้ดอกเบี้ยถูก, ให้วงเงินที่เพิ่มสูงขึ้น หรือการออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากที่จะต้องไปทำถึงสำนักงานที่ดิน เป็นต้น

ซึ่งประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการขายฝากตัดสินใจได้เร็วมากขึ้น ที่สำคัญคือธุรกิจการรับ ขายฝากที่ดิน นั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ที่รับซื้อต้องนำโปรโมชั่นมาดึงดูดใจผู้ขายฝาก จึงกลายมาเป็นประโยชน์ที่จะทำให้ผู้ขายฝากไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าดำเนินการยิบย่อยมากจนเกินไป ซึ่งวิธีการขายฝากจะเหมาะสำหรับผู้ที่ถือครองที่ดินไว้ในมือ ต้องการได้เงินก้อนไปหมุนในธุรกิจหรือชีวิตประจำวัน แต่ไม่ต้องการขายทิ้ง เพราะรู้สึกเสียดายต่อทำเลรอบที่ดินหรือเป็นที่ดินมรดกที่ไม่ต้องการขายต่อให้ผู้อื่น เพียงแค่เข้ามาฝากขายก็จะได้ทั้งเงินตามจำนวนที่ต้องการและสามารถที่จะไปไถ่ถอนออก เมื่อมีเงินคืนครบจำนวนอีกด้วย

เพียงแต่อาจจะเสียเป็นดอกเบี้ยรายเดือนร่วมไปกับเงินต้น แล้วถ้าช่วงเวลาใดที่ไม่สะดวกหรือมีปัญหาทางธุรกิจก็สามารถพูดคุยกับทางผู้รับซื้อ เพื่อขอจ่ายดอกรายเดือนไปก่อนได้อีกด้วย สำหรับการทำสัญญาฝากขายที่ดินมักจะมาในรูปแบบของการทำสัญญาปีต่อปี เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงเรื่องกำหนดเวลาไถ่ถอน ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ขายฝากสามารถที่จะไกล่เกลี่ยกับผู้ซื้อ ถ้าเกิดมีปัญหาการส่งเงินระหว่างทางได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียที่ดินไป

แต่ถ้ามีการทำสัญญาแบบรายปีก็จำเป็นจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เพราะจะมีทั้งเรื่องของภาษีธุรกิจเฉพาะที่จะจ่ายอยู่ร้อยละ 3.3 ของราคาขายฝาก, ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าอากรจะต้องจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 2.5, ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอาจจะต้องมีการเสียภาษีโรงเรือนกับภาษีที่ดิน รวมไปถึงการเสียภาษีบำรุงท้องถิ่นที่เจ้าของกรรมสิทธิ์จะต้องเสียค่าภาษีนี้ทุกปี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวมา ทางผู้รับซื้อฝากที่ดินจะต้องเป็นผู้จ่าย แต่ถ้าเป็นการต่อสัญญาแบบปีต่อปีก็อาจจะต้องจ่ายกันคนละครึ่ง หรือทางผู้รับซื้อก็อาจจะผลักภาระนี้ไปทางผู้ขายฝากแบบเต็ม ๆ ได้เช่นกัน